ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง และยิ่งเทคโนโลยีนั้นถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จนมีผู้คนนับล้านบริโภคเทคโนโลยีดังกล่าว จนทำให้ขนาดของปัญหาใหญ่และสำคัญยิ่งขึ้น
ดังเช่นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “โทรศัพท์มือถือ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเข้าถึงได้ง่ายในโลกปัจจุบัน ก็มีประเด็นให้ถกเถียงกันในแง่ปัญหาสุขภาพอยู่ไม่น้อย เนื่องด้วยลักษณะการใช้งานของโทรศัพท์มือถือที่ต้องสัมผัสแนบศีรษะและหู เพื่อให้ได้ยินเสียง และพูดผ่านไมโครโฟนภายในเครื่อง
เมื่อสนทนาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ใช้จะรู้สึกได้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้น รวมถึงหลักการของสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่นำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือ ก็ได้ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องความร้อนและพลังงานรังสีจากเครื่องว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่อย่างไร?
ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนถึงผลกระทบของโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสุขภาพ แต่ก็มีการวิจัยที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ในประเทศอังกฤษได้บอกไว้ว่า คลื่นไมโครเวฟจากโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสมอง ทำให้สมองมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคำถามแบบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ได้รวดเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของสมองในแง่อื่นๆ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นอันตรายต่อสมอง
อย่างไรก็ตาม การลดอัตราจากพลังงานความร้อน และรังสีจากโทรศัพท์มือถือ ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถสนทนาได้โดยไม่ต้องถือโทรศัพท์แนบกับศีรษะ หรือสมอลล์ทอล์ก ซึ่งก็มีประโยชน์ในการลดอันตรายขณะขับขี่ยานพาหนะ และลดความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพได้
แต่หากกล่าวถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เพื่อติดต่อสื่อสารพูดคุยโดยทั่วไป ผู้ใช้จำเป็นต้องมองหน้าจอโทรศัพท์บ้างไม่มากก็น้อย แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมากมายถูกนำมารวมไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวกและประโยชน์ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การถ่ายภาพ การจัดเอกสารข้อมูล รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ต่างๆ
เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานต้องมองหน้าจอมือถือมากขึ้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่า การมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือนานๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพสายตาหรือไม่ อย่างไร? ก่อนจะทราบถึงผลกระทบของการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คงต้องอธิบายถึงส่วนประกอบและการทำงานของหน้าจอโทรศัพท์มือถือกันก่อน
เริ่มต้นที่ส่วนของหน้าจอ ซึ่งเป็นส่วนแสดงผลของโทรศัพท์มือถือ หน้าจอที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเป็นชนิด แอลซีดี (ลิควิดคริสตัล ดิสเพลย์) ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นบางๆ ระดับความหนาเป็นไมครอนมาประกอบกันหลายชั้น คำถามก็คือ..การเกิดภาพให้เห็นบนหน้าจอแสดงผลได้นั้นทำได้อย่างไร สามารถอธิบายได้ต่อไปนี้
1. ส่วนให้แสงสว่าง จะอยู่ลึกที่สุด ทำหน้าที่ให้แสงหรือความสว่าง โดยอาจใช้หลอดไฟเป็นแบล็กไลต์ หรือในจอรุ่นใหม่ๆ แต่ละจุดบนหน้าจอจะปล่อยแสงออกมาได้ด้วยตัวเอง แสงที่เกิดขึ้นนี้จะส่องผ่านรูเล็กๆ ขึ้นมานับพันรู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าจอ
2. ส่วนควบคุมการแสดงผล มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรมากมายที่ประมวลผลการแสดงออกมาว่าจะเป็นรูปอะไร แบบใด เช่น ให้เป็นเลข 9 หรือเป็นตัวอักษร ก.
3. ส่วนแสดงผล เป็นส่วนที่เป็นที่มาของชื่อหน้าจอแอลซีดี เพราะในส่วนนี้จะมีลิควิดคริสตัลหรือคริสตัลเหลว เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ และมีส่วนของคัลเลอร์ฟิลเตอร์เป็นตัวกำหนดสี การเกิดภาพโดยคริสตัลเหลว ทำได้โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น คริสตัลเหลวจะจัดเรียงตัวไปปิดรูที่แสงส่องผ่านตามที่ส่วนควบคุมการแสดงผลกำหนด ทำให้เห็นเป็นภาพขึ้นมา จากนั้นแสงจะผ่านคัลเลอร์ฟิลเตอร์ กำหนดเป็นสีต่างๆ เช่น เห็นอักษร A เป็นแบบตัวเอียงและมีสีน้ำเงิน เป็นต้น
เริ่มต้นที่ส่วนของหน้าจอ ซึ่งเป็นส่วนแสดงผลของโทรศัพท์มือถือ หน้าจอที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเป็นชนิด แอลซีดี (ลิควิดคริสตัล ดิสเพลย์) ซึ่งประกอบไปด้วยชั้นบางๆ ระดับความหนาเป็นไมครอนมาประกอบกันหลายชั้น คำถามก็คือ..การเกิดภาพให้เห็นบนหน้าจอแสดงผลได้นั้นทำได้อย่างไร สามารถอธิบายได้ต่อไปนี้
1. ส่วนให้แสงสว่าง จะอยู่ลึกที่สุด ทำหน้าที่ให้แสงหรือความสว่าง โดยอาจใช้หลอดไฟเป็นแบล็กไลต์ หรือในจอรุ่นใหม่ๆ แต่ละจุดบนหน้าจอจะปล่อยแสงออกมาได้ด้วยตัวเอง แสงที่เกิดขึ้นนี้จะส่องผ่านรูเล็กๆ ขึ้นมานับพันรู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าจอ
2. ส่วนควบคุมการแสดงผล มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรมากมายที่ประมวลผลการแสดงออกมาว่าจะเป็นรูปอะไร แบบใด เช่น ให้เป็นเลข 9 หรือเป็นตัวอักษร ก.
3. ส่วนแสดงผล เป็นส่วนที่เป็นที่มาของชื่อหน้าจอแอลซีดี เพราะในส่วนนี้จะมีลิควิดคริสตัลหรือคริสตัลเหลว เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ และมีส่วนของคัลเลอร์ฟิลเตอร์เป็นตัวกำหนดสี การเกิดภาพโดยคริสตัลเหลว ทำได้โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น คริสตัลเหลวจะจัดเรียงตัวไปปิดรูที่แสงส่องผ่านตามที่ส่วนควบคุมการแสดงผลกำหนด ทำให้เห็นเป็นภาพขึ้นมา จากนั้นแสงจะผ่านคัลเลอร์ฟิลเตอร์ กำหนดเป็นสีต่างๆ เช่น เห็นอักษร A เป็นแบบตัวเอียงและมีสีน้ำเงิน เป็นต้น
จากส่วนประกอบดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า จอโทรศัพท์มือถือที่ให้ความสว่างที่เหมาะสม การประมวลผลรวดเร็ว การทำงานของคริสตัลเหลวมีประสิทธิภาพ และหน้าจอมีความละเอียดมาก ก็จะให้ภาพที่คมชัด และเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเก่ามีราคาถูกลง โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่หน้าจอแสดงผลคมชัด มีสีสันสวยงาม จึงมีราคาไม่แพง และเป็นที่นิยม
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ปัจจุบันประโยชน์ใช้สอยของโทรศัพท์มือถือมีมากกว่าการสนทนาระหว่างบุคคล รูปแบบการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์จึงมีมากขึ้น และระยะเวลาในการใช้งานนานขึ้น บางครั้งก็มีอาการหรือความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมองเกิดขึ้น จึงเกิดประเด็นสงสัยถึงผลกระทบด้านสุขภาพตาในการมองจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ
ปัญหาทางตาที่พบบ่อยได้แก่ การปวดเมื่อยตา สายตาล้า ภาพไม่ชัดเมื่อเปลี่ยนระยะมอง หรือเมื่อเงยหน้าจากจอโทรศัพท์ รู้สึกแสบตา ตาแห้ง ตาพร่า ไปจนถึงการกลัวว่ามองหน้าจอโทรศัพท์นานๆ แล้วจอประสาทตาจะเสื่อม เป็นต้อกระจก ต้อหิน ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายโดยแยกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ปัจจุบันประโยชน์ใช้สอยของโทรศัพท์มือถือมีมากกว่าการสนทนาระหว่างบุคคล รูปแบบการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์จึงมีมากขึ้น และระยะเวลาในการใช้งานนานขึ้น บางครั้งก็มีอาการหรือความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมองเกิดขึ้น จึงเกิดประเด็นสงสัยถึงผลกระทบด้านสุขภาพตาในการมองจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ
ปัญหาทางตาที่พบบ่อยได้แก่ การปวดเมื่อยตา สายตาล้า ภาพไม่ชัดเมื่อเปลี่ยนระยะมอง หรือเมื่อเงยหน้าจากจอโทรศัพท์ รู้สึกแสบตา ตาแห้ง ตาพร่า ไปจนถึงการกลัวว่ามองหน้าจอโทรศัพท์นานๆ แล้วจอประสาทตาจะเสื่อม เป็นต้อกระจก ต้อหิน ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายโดยแยกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
1. อันตรายต่อดวงตาในแง่ความร้อน และรังสีจากโทรศัพท์มือถือขณะกำลังใช้งานหน้าจอ อาจกล่าวได้ว่ามีอันตรายน้อยมาก เนื่องจากขณะใช้งาน เราถือโทรศัพท์ไว้ที่ระยะการมองชัด (ระยะอ่านหนังสือ) โดยอยู่ห่างจากศีรษะและดวงตาประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งห่างมากพอที่พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นและพลังงานจากรังสีในย่านความถี่ไมโครเวฟที่มีกำลังส่งต่ำอยู่แล้ว จะส่งกระทบต่อตาน้อยมาก และ จากข้อมูลในปัจจุบัน ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการใช้งานโทรศัพท์มือถือมีผลทำให้เกิดโรคทางตา ที่มีผลต่อการสูญเสียการมองเห็น ประมวลจากองค์ความรู้ในขณะนี้ ไม่พบหลักฐานว่าการมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก และต้อหิน
2. อาการต่างๆ ที่พบได้แก่ ปวดล้า ตาพร่า ปรับระยะภาพไม่ชัด แสบตา ตาแห้ง อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นผลจากการใช้สายตาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับการใช้สายตาทั่วไป ไม่เฉพาะกับการมองจอโทรศัพท์มือถือเท่านั้น อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ใช้ การเพ่งมอง ระดับการมองเห็นของแต่ละคน ความผิดปกติของค่าสายตาที่มีอยู่เดิม ความสว่างของหน้าจอ ขนาดของหน้าจอ ระยะเวลาหรือความถี่ในการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์ เป็นต้น
2. อาการต่างๆ ที่พบได้แก่ ปวดล้า ตาพร่า ปรับระยะภาพไม่ชัด แสบตา ตาแห้ง อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นผลจากการใช้สายตาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับการใช้สายตาทั่วไป ไม่เฉพาะกับการมองจอโทรศัพท์มือถือเท่านั้น อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ใช้ การเพ่งมอง ระดับการมองเห็นของแต่ละคน ความผิดปกติของค่าสายตาที่มีอยู่เดิม ความสว่างของหน้าจอ ขนาดของหน้าจอ ระยะเวลาหรือความถี่ในการใช้งานผ่านหน้าจอโทรศัพท์ เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น